ดนตรีมีอิทธิพล

อิทธิพลของดนตรี

0 Comments

ดนตรี แม้จะเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงแล้ว ยังมีความสำคัญกับสังคมอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการทำให้จรรโลงจิตใจ การสร้างความบันเทิง รวมไปถึงการพัฒนาด้วย ดนตรี คือ เสียงและโครงสร้างที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งมนุษย์ใช้ประกอบกิจกรรมศิลปะที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง จังหวะ และคุณภาพเสียง ได้แก่ ความต่อเนื่องของเสียง เนื้อเสียง ความดังค่อย และพรรณลักษณ์ของเสียง 

อิทธิพลของดนตรี

ดนตรีมีอิทธิพลต่อร่างกายและจิตใจ

            มนุษย์รู้จักการเล่นดนตรีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีการวิวัฒนาการมาเป็นรูปที่เป็นมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการขับร้องและการบรรเลงดนตรีในปัจจุบันมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับที่ตายตัวสำหรับดนตรีไทยและดนตรีสากล ซึ่งรูปแบบและข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานนี้ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการเรียนการบรรเลงและขับร้องดนตรี ซึ่งดนตรีอิทธิพลต่อร่างกายและจิตใจ ดังต่อไปนี้

            1. ดนตรีทำให้บุคลิกภาพดี คือ การเรียนดนตรีทุกประเภท มีกฎเกณฑ์ในการบรรเลงและขับร้องเช่นการนั่ง การยืน การจับเครื่องดนตรี เพื่อทำให้การบรรเลงและการขับร้องเกิดความสง่างาม พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาและสร้างเสริมบุคลิกภาพที่ดีให้กับผู้บรรเลงและขับร้อง

            2. ดนตรีทำให้สุขภาพจิตดี คือ ในการเรียนดนตรีหรือฟังดนตรีจะทำให้เกิดสมาธิในขณะฟังเพลง เกิดความผ่อนคลาย เกิดความสนุกสนาน ทำให้จิตใจร่าเริงเบิกบานแช่มชื่น มีผลทำให้บุคคลนั้นๆมีสุขภาพจิตที่ดี ทั้งนี้ในการเลือกฟังเพลงหรือบรรเลงต้องดูลักษณะของเพลงว่าเราต้องการฟังเพลงในอารมณ์ใด เพื่อไม่ให้ขัดต่อภาวะจิตขณะนั้น

            3. ดนตรีบำบัด ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้นำดนตรีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาคนไข้บางประเภท โดยใช้เสียงดนตรีเข้ามาช่วยรักษา ทางการแพทย์เรียกว่าดนตรีบำบัด สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายเป็นปกติได้ด้วยเสียงดนตรี  

– ดนตรีมีอิทธิพลต่อการสะท้อนสังคม

  1. ค่านิยมของสังคมในผลงานดนตรี

            ในช่วงสมัยดนตรีบาโรก ดนตรีเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกภายในบ้าน ในบ้านของขุนนาง สำหรับเจ้านายชั้นสูง ใช้บรรเลงในห้องโถงที่ไม่ใหญ่โตนัก ซึ่งมีจำนวนผู้ฟังไม่มาก ในบางครั้งบางคราวก็บรรเลงในสวนหย่อม สำหรับงานเลี้ยง งานรื่นเริงต่างๆ ต่อมาในยุคดนตรีคลาสสิก ดนตรีได้เริ่มแพร่หลายออกไปสู่ประชาชนมากขึ้น สถาบันศาสนาไม่ได้เป็นศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป บรรดาราชวงศ์ ขุนนางหรือผู้มีฐานะ นิยมมีวงดนตรีไว้ประดับบารมี ในประเทศไทยก็เคยมีค่านิยมอย่างนี้ในสมัยอยุธยาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงราวสมัยรัชการที่ 6 จึงได้เสื่อมค่านิยมลงไปเพราะว่าระบบศักดินาได้ถูกยกเลิกไป เป็นต้น

2. ดนตรีกับความเชื่อของสังคม

            สำหรับคนโบราณเชื่อว่าดนตรีคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกวิญญาณและขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้นอกจากนี้ดนตรียังทำให้การสวดมนต์ในพิธีกรรมทางศาสนาดูเข้มขลัง มีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น ดนตรียังเป็นสัญญาณในการเรียกรวมพล เตือนข่าว เตือนภัยต่างๆ มีความเชื่ออีกว่า เสียงกลอง สามารถเรียกวิญญาณต่างๆมารวมกันเพื่อต่อสู้กับสิ่งชั่วร้าย หรือมาร่วมเต้นรำในพิธีกรรมต่างๆได้นอกจากเสียงกลองแล้วยังมีการใช้เครื่องเป่าแบบโบราณรวมอยู่ด้วย

Related Posts

รู้จักกับ Joox

มาทำความรู้จักกับ Joox กันเถอะ

0 Comments

สมัยก่อนมีเครื่อง MP3 MP4 สำหรับการฟังเพลง ซึ่งต้องมีการดาวน์โหลดเพลงเก็บไว้ก่อนจึงสามารถฟังได้ แต่ในปัจจุบันเรามีสมาร์ทโฟนที่เป็นทุกอย่างให้เราแล้ว เพลงบนมือถือไม่จำเป็นต้องโหลดไว้เสมอไป เพราะคุณสามารถฟังเพลงออนไลน์ได้ผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นต่างๆ อย่าง…